เกียปั๊ม หรือปั๊มแบบเฟือง
Gear Pump คือ
ปั๊มแบบเฟือง (Gear Pump) เป็นไฮดรอลิกปั๊ม (เป็นเปลี่ยนพลังงาน (Energy) ของตัวขับปั๊ม (Drive) ไปอยู่ในรูปของปริมาณการไหล (Flow) ความดัน (Pressure) และอุณหภูมิ (Temperature)) ชนิดหนึ่งที่มีการไหลคงที่ (Volumetric pump) เป็นปั๊มที่นิยมกันใช้มากที่สุดในระบบขนส่งไฮดรอลิค เพราะมีโครงสร้างภายในแบบง่าย ๆ และราคาย่อมเยาว์ เมื่อเปรียบเทียบกับปั๊มชนิดอื่น ไม่ว่าจะเป็นปั๊มแบบนิ้ว หรือปั๊มแบบสกรู เป็นปั๊มปั๊มที่สามารถทำงานได้ดีที่แรงดันสูง ๆ ปริมาณของน้ำมันที่ดูดและส่งที่ได้นั้นขึ้นอยู่กับขนาดความลึกของร่องฟัน และเฟืองที่ใช้อาจเป็นเฟืองตรง (Spur Gear) หรือฟันเฉียง (Helical Gear) ก็ได้ แต่ในลักษณะฟันที่เฉียงจะทำงานได้เงียบกว่า สามารถใช้กับงานที่หนักขึ้นได้มากกว่าและทำงานที่รอบสูงสูงได้มากกว่าเกียร์แบบฟันตรง ปั๊มแบบเฟืองนี้ไม่สามารถปรับค่าอัตราการไหลได้
หลักในการทำงาน คือในระหว่างที่ตัวปั๊มอัดน้ำมันนั้น ระหว่างฟันเฟืองกับเสื้อปั๊ม เมื่อขับให้ปั๊มทำงานเฟืองจะถูกขับให้หมุนไปเกิดสุญญากาศที่ท่อทางเข้า จะทำให้น้ำมันถูกดูดเข้าไปสู่ช่องว่าง และเมื่อเฟืองตัวมันเองหมุนกลับมาขบกันอีกครั้งหนึ่งน้ำมันก็จะถูกบีบออกสู่ช่องทางออก ในขณะเดียวกันกับน้ำมันที่ถูกกันไม่ให้ไหลกลับ โดยซีลแบบกลไก คือซีลด้วยตัวมันเองด้วยตัวโลหะที่สัมผัสซึ่งกันและกัน มีน้ำมันเป็นตัวฟิล์มบางๆ เป็นตัวหล่อลื่นระหว่างเสื้อด้วยกัน
ปั๊มเฟืองแบบนี้ยังแบ่งประเภทย่อยๆออกได้อีก 4 แบบหลักๆ ดังนี้คือ
1.แบบเฟืองนอก External gear pump
2.แบบเฟืองใน Internal gear pump
3.แบบสกรู Screw pump
4.แบบโหลบ Lobe pump
ปั๊มแบบฟันเฟือง (Gear pump)
เกียร์ปั๊ม (Gear Pump) เกียร์ปั๊มหรือปั๊มแบบฟันเฟือง เป็นปั๊มที่นิยมใช้กันมาในปัจจุบัน จุดเด่นของปั๊มนี้คือ มีขนาดเล็กและเบา, มีโครงสร้างไม่สลับซับซ้อน, ดูแลรักษาง่ายและเสียได้ยาก, อัตราการไหลของปั๊มที่สูงประมาณ 1-220 ซีซีต่อรอบ จำนวนรอบของปั๊มประมาณ 500-4,000 รอบต่อนาที ซึ่งเกียร์ปั๊มจะแบ่งอีกเป็น 2 ประเภทคือ
1. ปั๊มแบบเฟืองใน (Internal Gear Pump) คือปั๊มที่เกียร์จะขบกันอยู่ภายในตัว ปั๊มแบบเฟืองในจะมีความดันอยู่ที่ 1,400 – 3,100 เมกะปาสคาล อัตราการไหลอยู่ที่ 22-65 ซีซีต่อรอบ ความเร็วรอบ 220 – 2,500 รอบต่อนาที
หลักการทำงานของเกียร์ปั๊มแบบเฟืองใน (Internal Gear Pump)
น้ำมันจะถูกส่งเข้ามาทางเข้า แล้วเข้ามาเติมในส่วนของช่องว่าง เมื่อปั๊มเริ่มหมุนตัว เฟืองและตัวโรเตอร์ (Rotor) จะเริ่มทำการหมุนเพื่อผลักดันน้ำมันในจังหวะการอัด ทำให้มีความเร็วและอัตราการไหลสูงขึ้น
2. เกียร์ปั๊มแบบเฟืองนอก (External Gear Pump) คือเกียร์ปั๊มที่มีเกียร์สองตัวโดยที่ฟันของเกียร์ทั้งสองตัวนั้นขบกัน ปั๊มแบบเฟืองนอกจะมีความดันอยู่ที่ 2,000 – 4,300 เมกะปาสคาล อัตราการไหลประมาณ 0.5 – 90 ซีซีต่อรอบ
หลักการทำงานของเกียร์ปั๊มแบบเฟืองนอก (External Gear Pump)
เกียร์ปั๊ม หรือปั๊มเฟือง ใช้ในอุตสาหกรรมประเภทความหนืดสูง
ปั๊มเฟือง หรือ เกียร์ปั๊ม โดยทั่วไปมักใช้ในอุตสาหกรรมการสูบ-จ่ายของเหลวที่มีความหนืดสูงได้ เช่น กาว, ดูดยางมะตอย, น้ำมันพืช , น้ำมันเชื้อเพลิง, น้ำเชื่อม, แชมพู รวมถึงอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งเป็นของเหลวที่ใสถึงของเหลวที่มีความหนืดสูง (Thin to High Viscosity Liquid) เช่น
- ของเหลวที่มีความหล่อลื่นและไม่หล่อลื่นในตัวเอง (Lubricating to non-Lubricating Liquid)
- ของเหลวที่สะอาดจนถึงของเหลวที่มีสิ่งเจือปน (Clean to Abrasive Liquid)
- ของเหลวที่มีความกัดกร่อน (Corrosive Liquid)
- ของเหลวมีพิษหรือสารอันตราย (Toxic or Hazardous Liquid)
- ของเหลวที่มีแรงดันไอสูง (High Vapor Pressure Liquid)
- การใช้งานที่อุณหภูมิสูงกว่าปรกติ (Extreme Temperature Conditions)
- รวมถึงการออกแบบเฉพาะตามความต้องการของลูกค้า (User requirements)
นิยมใช้แพร่หลายในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น Oil and Gas, Refinery, Chemical, Petrochemical, Paint, Textile, Plastic / Resin / Rubber, Lubricating Oil & Grease manufacturing, Food, Animal Food, Chocolate Industry, Pulp & Paper, Steel, Machinery Industry, OEM
น้ำมันไฮดรอลิกจะถูกส่งเข้ามาทางเข้า แล้วเข้ามาเติมในส่วนของช่องว่าง เมื่อปั๊มเริ่มหมุนตัว เฟืองทั้งสองตัวจะเริ่มหมุน และผลักดันน้ำมันไฮดรอลิกในจังหวะการอัด ทำให้มีความเร็วและอัตราการไหลสูงขึ้น
เกียร์ปั๊ม หรือ Gear Pump เป็นปั๊มที่นิยมใช้งานมากในปัจจุบัน จุดเด่นของปั๊มชนิดนี้ คือ
- มีโครงสร้างง่าย ๆ ไม่สลับซับซ้อน
- มีขนาดเล็กและน้ำหนักเบา
- ไม่ค่อยเสีย และง่ายต่อการดูแลรักษาและซ่อมบำรุง มีหลายรุ่นให้เลือกตั้งแต่แรงดันน้อย ๆ จนไปถึงแรง ดันมาก ๆ และราคาไม่แพง
เกียร์ปั๊ม หรือปั๊มเฟือง ใช้ในอุตสาหกรรมประเภทความหนืดสูง
ปั๊มเฟือง หรือ เกียร์ปั๊ม โดยทั่วไปมักใช้ในอุตสาหกรรมการสูบ-จ่ายของเหลวที่มีความหนืดสูงได้ เช่น กาว, ดูดยางมะตอย, น้ำมันพืช , น้ำมันเชื้อเพลิง, น้ำเชื่อม, แชมพู รวมถึงอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งเป็นของเหลวที่ใสถึงของเหลวที่มีความหนืดสูง (Thin to High Viscosity Liquid) เช่น
- ของเหลวที่มีความหล่อลื่นและไม่หล่อลื่นในตัวเอง (Lubricating to non-Lubricating Liquid)
- ของเหลวที่สะอาดจนถึงของเหลวที่มีสิ่งเจือปน (Clean to Abrasive Liquid)
- ของเหลวที่มีความกัดกร่อน (Corrosive Liquid)
- ของเหลวมีพิษหรือสารอันตราย (Toxic or Hazardous Liquid)
- ของเหลวที่มีแรงดันไอสูง (High Vapor Pressure Liquid)
- การใช้งานที่อุณหภูมิสูงกว่าปรกติ (Extreme Temperature Conditions)
- รวมถึงการออกแบบเฉพาะตามความต้องการของลูกค้า (User requirements)
นิยมใช้แพร่หลายในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น Oil and Gas, Refinery, Chemical, Petrochemical, Paint, Textile, Plastic / Resin / Rubber, Lubricating Oil & Grease manufacturing, Food, Animal Food, Chocolate Industry, Pulp & Paper, Steel, Machinery Industry, OEM