ปั๊มลม หรือ Air Compressor ทำหน้าที่ในการอัดลมจากอากาศ (Atmospheric air) ให้มีแรงดัน (Pressor) สูงตามที่ต้องการเพื่อนำไปใช้ประโยชน์และประยุกต์ใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นระบบลมเพื่อใช้ในระบบควบคุมนิวเมติกส์ (Pneumatic control air) และไช้งานทั่ว (Service air)ไปในโรงงานอุตสาหกรรมตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่
การใช้งานระบบนิวเมติกส์ในอุตสาหกรรมเล็กๆ ตัวอย่างเช่นอู่ซ่อมรถยนต์ ร้านซ่อมรถจักรยานยนต์ ร้านพ่นสี ส่วนใหญ่จะใช้เป็นปั๊มลมประเภทลูกสูบ (Piston type) ที่มีการใช้ปริมาณลมน้อยเเละแรงดันลมไม่สูงมาก ปั๊มลมประเภทลูกสูบเหมาะกับอุตสาหกรรมเล็กๆ ส่วนเครื่องปั้มลมที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม ส่วนมากแล้วจะใช้เป็นปั๊มลมประเภทโรตารีสกรู (Positive displacement type or Rotary type) ที่ให้ปริมาณลมที่มากและยังสามารถทำความดันลมได้สูงถึง 13 บาร์
ปั๊มลมแบ่งออกเป็น 6 ประเภทด้วยกัน
- ปั๊มลมประเภทลูกสูบ (Reciprocating Air Compressor)
- ปั๊มลมประเภทไดอะเฟรม (Diaphragm Air Compressor)
- ปั๊มลมประเภทสกรู (Screw Air Compressor)
- ปั๊มลมประเภทใบพัดเลื่อน (Sliding Vane Rotary Air Compressor)
- ปั๊มลมประเภทใบพัดหมุน (Roots Air Compressor)
- ปั๊มลมประเภทกังหัน (Radial and axial flow Air Compressor)
โดยส่วนใหญ่แล้วปั๊มลมที่นิยมใช้กันมี 2 ประเภทได้แก่ ปั๊มลมประเภทลูกสูบ และ ปั๊มลมประเภทสกรู จะเห็นตามอู่ซ่อมรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และในโรงงานอุตสาหกรรม
1. ปั๊มลมประเภทลูกสูบ (Piston Air Compressor)
ปั๊มลมประเภทลูกสูบ
หลักการทำงานปั๊มลมลูกสูบ ใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นต้นกำลังมาขับเคลื่อนลูกสูบให้เคลื่อนที่ขึ้นลง ทำให้เกิดแรงดูดเเละอัดอากาศภายในกระบอกสูบ โดยมีวาล์วทางด้านดูดและวาล์วทางออกทำงานสัมพันธ์กัน ถือเป็นปั๊มลมที่นิยมใช้งานมากที่สุดด้วยความเหมาะสมต่อการใช้งานและราคาที่ไม่สูงมากนักและยังสามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวกอีกด้วย โดยปั๊มลมชนิดนี้สามารถสร้างความดันหรือแรงดันลมได้ตั้งแต่ 1 bar ไปจนถึง 1,000 bar โดยแรงอัดจะขึ้นอยู่กับจำนวนขั้นของการอัด ยิ่งขั้นในการอัดมากก็จะสามารถสร้างแรงอัดได้สูงขึ้นตามไปด้วยนั่นเอง สำหรับปั๊มลมหรือเครื่องอัดลมแบบลูกสูบ ยังแบ่งออกเป็นประเภทย่อยๆได้อีกอย่างเช่น Booster Air Compressor, High Pressure Air Compressor ปั๊มลมแรงดันสูงแต่ให้เสียงที่เงียบ เพราะโดยปกติแล้วปั๊มลมประเภทลูกสูบนั้นจะมีข้อเสียอย่างหนึ่งคือเสียงดังขณะเครื่องทำงาน
2. ปั๊มลมประเภทไดอะเฟรม (Diaphragm Air Compressor)
ปั๊มลมประเภทไดอะเฟรม เป็นปั๊มลมที่ใช้หลักการทำงานคล้ายระบบลูกสูบเเต่จะมีแผ่นไดอะแฟรมเป็นตัวกั้นไม่ให้อากาศสัมผัสกับลูกสูบ ทำให้ลมที่ถูกดูดเข้าไปในปั๊มหรือเครื่องอัดลมจะไม่โดนหรือสัมผัสกับส่วนที่เป็นโลหะ ส่วนลมที่ได้ก็จะไม่มีการผสมกับน้ามันหล่อลื่นสามารถสร้างแรงดันได้สูงคล้ายปั้มลูกสูบขึ้นอยู่กับการออกเเบบขั้นในการอัด ปั๊มลมชนิดนี้ ก็มีข้อดีอยู่เหมือนกันคือลมที่ได้ออกมาจะเป็นลมที่สะอาดไม่มีอะไรปนเปื้อน จึงนิยมนำมาใช้ในอุตสาหกรรมเฉพาะด้าน เช่น อุตสาหกรรมยา อุตสารกรรมอาหาร ใช้ปั้มเพื่อส่งสารเคมีต่างๆ เป็นต้น ข้อดีอีกอย่างคือมีเสียงที่เงียบกว่าปั๊มลมแบบลูกสูบ เหมาะกับอุตสาหกรรมที่ต้องการความเงียบและเสียงรบกวนน้อย
3. ปั๊มลมประเภทสกรู (Screw Air Compressor)
ปั๊มลมประเภทสกรู เป็นที่นิยมในโรงงานอุตสาหกรรมทั่วไป เพราะเครื่องปั๊มลมประเภทนี้จะให้การผลิตลมที่มีคุณภาพสูง โดยใช้มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นต้นกำลังในการหมุนเพลาสกรู 2 ตัวให้หมุนเข้าหากันทำให้เกิดแรงอัดอากาศขึ้นมา เครื่องอัดลมแบบสกรูจะได้ปริมาณลมที่สม่ำเสมอกว่าแบบลูกสูบ
ทั้งนี้ปริมาณลมเเละเเรงดันลมขึ้นอยู่กับกำลังของมอเตอร์เเละการออกเเบบชุดสกรู ยิ่งกำลังสูงตัวเครื่องอัดอากาศก็จะสามารถผลิตปริมาณอากาศได้มากเเละมีขนาดที่ใหญ่ตามด้วย เครื่องปั๊มลมหรือเครื่องอัดอากาศประเภทนี้จะสามารถจ่ายลม 170 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที (m3/min) และยังสามารถทำความดันได้สูงถึง 13 บาร์
เครื่องปั๊มลมประเภทนี้ยังถูกแบบออกเป็นประเภทย่อยๆ ขึ้นกับตัวขับ และการออกแบบได้อีก อาทิเช่น
- Belt Drive Screw Air Compressor
- Direct Drive Screw Air Compressor
- Gear Drive Screw Air Compressor
- Variable Speed Drive Screw Air Compressor
- Vacuum Screw Air Compressor
- Single Stage Screw Air Compressor
- Two Stage Screw Air Compressor
4. ปั๊มลมประเภทใบพัดเลื่อน (Sliding Vane Rotary Air Compressor)
ปั๊มลมประเภทใบพัดเลื่อน จุดเด่นของปั๊มลมประเภทนี้คือการที่เครื่องหมุนเรียบให้ความสม่ำเสมอ ทำให้อากาศที่ออกมามีแรงดันที่คงที่ เหมาะกับโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องการแรงลมที่สม่ำเสมอ
และคงที่ เครื่องปั๊มลมประเภทนี้จะไม่มีลิ้นหรือวาล์วในการเปิดปิดในพื้นที่จำกัดทำให้ไวต่อความร้อน สามารถกระจายแรงลมได้ 4 – 100 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที ความดันของลมอยู่ที่ 4 – 10 บาร์
5. ปั๊มลมประเภทใบพัดหมุน (Roots Air Compressor)
ปั๊มลมประเภทใบพัดหมุน ลักษณะของปั๊มลมประเภทนี้จะมีใบพัดหมุน 2 ตัว เมื่อโรเตอร์ 2 ตัวทำการหมุน จะทำให้ลมถูกดูดเข้าไปจากฝั่งหนึ่งไปอีกฝั่งหนึ่ง โดยอากาศที่ถูกดูดเข้าไปนั้นจะไม่มีการเปลี่ยนปริมาตร
ทำให้อากาศที่ไม่ถูกบีบหรืออัดตัว แต่อากาศจะมีการอัดตัวตอนที่เข้าไปเก็บในถังลม ปั้มลมประเภทนี้ต้องอาศัยการระบายความร้อนและอุณหภูมิที่ดี ไม่มีลิ้น ไม่ต้องการหล่อลื่นขณะทำงาน และมีต้นทุนการผลิตที่สูง ลักษณะการทำงานของปั๊มลมแบบใบพัดหมุน จะใช้ใบพัดหมุน 2 ตัวทำการหมุน ทำให้มีการดูดอากาศจากทางช่องลมเข้าผ่านเข้าใบพัดที่ 1 แล้วส่งต่อไปพัดที่ 2 แล้วผ่านไปฝั่งลมออก โดยไม่ทำให้อากาศถูกบีบตัวหรืออัดตัว
6. ปั๊มลมประเภทกังหัน (Radial and axial flow Air Compressor)
ปั๊มลมประเภทกังหัน เป็นปั๊มลมอีกประเภทหนึ่งที่มีการจ่ายอัตราลมที่มาก เนื่องจากลักษณะจะเป็นใบพัดกังหันดูดลมเข้าจากอีกด้านหนึ่งไปอีกด้านหนึ่ง ตามแกนด้วยการหมุนที่มีความเร็วสูง และลักษณะของใบพัดก็เป็นส่วนสำคัญเรื่องอัตราการจ่ายลม สามารถกระจ่ายแรงลมได้ตั้งแต่ 170 – 2,000 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที(m3/min)
United Compressor System (UCS)
เป็นบริษัทในเครือของฮิตาชิ (Hitachi) ผู้ผลิตปั๊มลม หรือเครื่องอัดลม หรือแอร์คอมเพรสเซอร์ (Air Compressor) และโปรเซสแก๊ซคอมเพรสเซอร์ที่ใช้สำหรับอุตสาหกรรม (Industrial compressor) ที่มีชื่อเสียงของญี่ปุ่น UCS ใช้เทคโนโลยีในการผลิตปั๊มลมที่ทันสมัยจากฮิตาชิ ซึ่งมีประสิทธิภาพในการใช้งาน ให้ลมมากกว่า และประหยัดพลังงานสูง UCS ใช้อุปกรณ์ปรับเปลี่ยนความถี่ของกระแสไฟที่ใช้ขับคอมเพรสเซอร์ (Variable frequency drive (VFD) หรือ Variable speed drive (VSD) เพื่อควบคุมการใช้พลังงานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด สามารถประหยัดได้กว่า 50-60% จ่ายลมมากขึ้นประมาณ 7-10% นอกจากผลิตปั๊มลมภายใต้แบรนด์ UCS แล้ว UCS ยังรับเป็นผู้ผลิตปั๊มลม (OEM) ให้แบรนด์ชั้นนำจากญี่ปุ่น และยุโรป ที่มีผู้ใช้งานทั่วโลก การผลิตทั้งหมดทำภายใต้เทคโนโลยีการผลิตปั๊มลมของฮิตาชิ
ปั๊มลมเป็นอุปกรณ์ปั๊มอัดอากาศจากความดันบรรยากาศ (Atmospheric pressure) โดยใช้พลังงานกล (Mechanical energy) ผ่านเครื่องอัด (Compressor) เพื่อเพิ่มความดันอากาศให้สูงขึ้นตามความต้องการของการใช้งาน (Operating pressure) ลมอัด (Compressed air) มีแรงดันสูงตามที่ต้องการใช้งาน เพื่อใช้ประโยชน์และประยุกต์ใช้ในระบบนิวแมติกส์ (หรือระบบลมอัด) ของโรงงานอุตสาหกรรม เช่น ระบบเครื่องมือควบคุมนิวแมติกส์ (Instrument air) ระบบลมเพื่อใช้ทั่วไป (Service air) เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการใช้งานในระบบนิวเมติกส์ในอุตสาหกรรมเล็กๆ ยกตัวอย่างเช่นอู่ซ่อมรถยนต์ ร้านซ่อมรถจักรยานยนต์ ร้านพ่นสี
UCS ผลิตปั๊มลม และโปรเซสคอมเพรสเซอร์ ดังนี้คือ
- สกรูแอร์คอมเพรสเซอร์ (Screw air compressor)
- เทอร์โบแอร์คอมเพรสเซอร์ (Turbo air compressor, Radial and Axial flow air compressor)
- สโครลแอร์แอร์คอมเพรสเซอร์ (Scroll air compressor)แอร์โบลวเวอร์ (Air blower)
- โปรเซสแก๊ซคอมเพรสเซอร์และโบลวเวอร์ (Process gas compressor and Blower)
- มารีนคอมเพรสเซอร์และโบลวเวอร์ (Marine compressor and Blower)
การผลิตมีทั้งแบบชนิดใช้น้ำมันหล่อลื่น (Oil lubricated) และแบบไม่ใช้น้ำมันหล่อลื่น (Oil free)
นอกจากนี้ยังผลิดอุปกรณ์ประกอบระบบลมอัด (Auxiliary) เช่น
- เครื่องกำจัดความชื้นของลม (Air dryer)
- เครื่องกรองฝุ่นและความชื้นในลม (Air filter)
- เครื่องเก็บความร้อน (Waste heat recovery)
- เครื่องปรับความดันลม (Air regulator)
- ถังเก็บลม (Air receiver หรือ Air storage tank)
คอมเพรสเซอร์และโบลวเวอร์แต่ละชนิดจะมีความสามารถในการอัดอากาศ (Capacity) และความดันลม (Pressure) ไม่เท่ากัน การเลือกใช้ชนิดและขนาด จะต้องเลือกให้เหมาะสมกับงาน
สนใจสินค้า ขอคำปรีกษา ติดต่อ บ. อินทีเกรทเทต ควอลิตี้ เซอร์วิสเซส จำกัด