เครื่องกวนใช้ในกระบวนการผลิต (Production process)
Mixer หรือ Agitator ใช้ผสม หรือกวนสารตั้งแต่ 2 สี่งขึ้นไป ให้เข้ากันดี เป็นเนื้อเดียวกัน (Homogeneous) ส่วนผสม (Mixed) มีคุณสมบัติ (Composition) ตามความต้องการ (Requirements) ของปลายทางของกระบวนการผลิต การกวนผสมเข้ากันไม่ดีจะส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ที่ได้ไม่มีคุณภาพ ไม่สม่ำเสมอ กระบวนการผลิตทำงานไม่ถูกต้อง ไม่ตรงกับที่ต้องการ
Mixer หรือ Agitator แบ่งกัน เป็น 2 จำพวก
1. แบบไดนามิก (Dynamic mixer) หรือแบบหมุน (Rotating mixer) แบ่งย่อยๆ - แบบกวนจากด้านบน (Top entry)
- แบบกวนด้านข้าง (Side entry)
- แบบกวนจากด้านล่าง ( Bottom entry)
2. แบบสแตติก (Static mixer) หรือเครื่องกวนในท่อ (Static mixer หรือ Motionless mixer) ไม่มีชิ้นส่วนเคลื่อนไหว ไม่สึกหรอ เครื่องกวนมี 2 ประเภทตามการใช้งาน คือ
- แบบติดตั้งอยู่กับที่ (Fixed) มักเป็นตัวใหญ่ๆ ใช้ในอุตสาหกรรมการผลิต
- แบบเคลื่อนที่ได้ (Portable) ยกไปมาย้ายที่ได้ ตัวเล็กๆ ส่วนใหญ่ยกด้ายคนได้
จำนวนการใหล การผสม และจำนวนตัวกวน
ลักษณะการไหลผสมในสแตติกมิกเซอร์
การติดตั้งสแตติกมิกเซอร์
การใช้งานต้องเลือกชนิดของมิกเซอร์ต้องเลือกให้เหมาะสมกับชนิดของงาน ส่วนใหญ่แล้ววิศวกรกระบวนการผลิตเป็นผู้กำหนด เพราะต้องดูแฟคเตอร์หลายๆด้านความต้องการประสิทธิภาพของการกวน ความยากง่ายในการติดตั้ง วัสดุที่ใช้ ความปลอดภัย เป็นต้น
เนื่องจากมิกเซอ์เป็นถังความดัน การออกแบบต้องคำนึงถึงความปลอดภัย เป็นไปตามมาตรฐานวิศวกรรมที่ยอมรับ (Design code and standard) วัสดุที่ใช้ทำ (Material selection) ต้องเป็นวัสดุที่เหมาะสมกับการใช้งาน เช่นพลาสติก เอนจิเนียริ่งพลาสติก เหล็ก เหล็กอัลลอยย์ สแตนเลส เป็นต้น ซึ่งจะต้องทนต่อการสึกหรอ การกัดกร่อน และมีความปลอดภัยต่อทรัพย์สิน ต่อผู้บริโภค
บริษัทมีสินค้าเครื่องกวนจากผู้ผลิตชั้นนำ รู้จักแพร่หลายทั่วโลก มีใช้แพร่หลายในประเทศไทย มีทั้งแบบสแตติก และไดนามิก จากผู้ผลิต เช่น Hado (Satake), Statiflo,…เป็นต้น
สนใจสินค้า ขอคำปรึกษาติดต่อ บ. อินทีเกรทเต็ด ควอลิตี้ เซอร์วิสเซส จำกัด