Article Cost of ownership of Pump

ค่าใช้จ่ายที่แท้จริงของปั๊ม

ในการซื้อปั๊มมาใช้งาน คนทั่วไปจะมองเปรียบเทียบเฉพาะค่าใช้จ่าย หรือเงินที่ใช้จริงในการซื้อปั๊มใหม่เท่านั้น ซึ่งเป็นการตัดสินใจที่ผิด ที่ถูกแล้วจะต้องพิจารณาเปรียบเทียบค่าใช้จ่ายรวมที่เกิดขึ้นตลอดอายุการใช้งานของปั๊ม

ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นตลอดอายุการใช้งาน (Life cycle cost, LCC) โดยทั่วไปจะคิดที่ 20 ปี หรือเท่ากับอายุของโครงการ หรืออายุของโรงงาน

ค่าใช้จ่ายที่แท้จริงของปั๊มตลอดอายุการใช้งาน (Life cycle cost) คือค่าใช้จ่ายในการมีปั๊มใว้ในครอบครอง (Cost of ownership) ได้แก่ค่าซื้อปั๊มใหม่ ค่าใช้จ่ายในการเดินเครื่องใช้งาน (ค่าพลังงานที่ใช้) ค่าใช้จ่ายในซ่อมบำรุงตลอดอายุของการใช้งานปั๊มนั้นๆ หักรายได้จากการขายปั๊มเก่าทิ้งไป ซึ่งจะเห็นว่าค่าใช้จ่ายในการได้มาของปั๊มเทียบกับ LCC แล้วถือว่าน้อยมาก

ค่าใช้จ่ายที่แท้จริงของปั๊ม

ในระหว่างการใช้งานจะมีค่าใช้จ่ายของปั๊มเกิดขึ้นมากมาย ซึ่งจะไม่เท่ากันของแต่ละแบรนด์ ขึ้นกับคุณภาพการผลิต ความเชื่อถือได้ (Reliability) ประสิทธิภาพ (ค่าการใช้พลังงาน, Energy) ค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงแต่ละครั้ง และค่าเสียโอกาส (Opportunity) ในการทำงานชองปั๊มเพื่อช่วยในการผลิต

ค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงจะต้องคิดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในการสตาร์ทอัพ (Startup) และชัทดาวน์ (Shutdown) ค่าแรง ค่าอะไหล่และของสิ้นเปลือง ค่าเครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการ รวมทั้งค่าบริหารจัดการ

ค่าเสียโอกาส (Opportunity) ในการทำงานชองปั๊มเพื่อการผลิต หมายถึงการที่ปั๊มมีปัญหา เดินเครื่องไม่ได้ เดินไม่ได้ตามกำลัง ต้องแก้ไขบ่อย หรือต้องหยุดซ่อม ทำให้การผลิตไม่ได้ตามกำลัง หรือตามต้องการ ทำให้เสียโอกาสในการผลิต (Opportunity loss) หรือการทำกำไร (Profit loss)

ค่าการลงทุนสร้างโรงงาน โดยทั่วไปค่าปั๊มและอะไหล่จะอยู่ที่ 20-25% ของการลงทุนทั้งหมดในการสร้างโรงงาน (Initial investment cost) นับเป็นค่าใช้จ่ายน้อยมากเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายทั้งหมดของโรงงาน (Total life cycle cost) ตลอดอายุการใช้งานะของโรงงาน

โดยทั่วไปทางโรงงานจะควบคุมปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ค่าติดตั้ง และค่ากำจัดไม่ได้ แต่จะควบคุมค่าบำรุงรักษา การใช้พลังงาน และการหยุดเครื่องได้

แผนภูมิค่าใช้จ่ายของปั๊มตลอดอายุงาน

ค่าใช้จ่ายที่แท้จริงของปั๊ม

LCC
= Initial investment cost + Energy cost + Maintenance cost + Spare part and consumable cost + Startup/ Shutdown cost + Administration cost + Opportunity cost

ทางโรงงานจึงจะใช้คนและทรัพยากรในการควบคุมค่าใช้จ่ายจำนวนมากๆที่เกิดขึ้นจริง และอยู่ในวิสัยที่จะควบคุมได้จริง การวิเคราะห์์ค่าใช้จ่ายตลอดอายุงาน (Total life cycle cost analysis) จึงเป็นเรื่องต้องทำให้รู้จริง เพื่อหาและกำหนดลำดับความสำคัญของสิ่งที่ควบคุมได้จริง

กราฟแสดงแนวทางควบคุม LCC

ค่าใช้จ่ายที่แท้จริงของปั๊ม

ตารางแสดงสูตรคำนวณผลตอบแทนของการควบคุม LCC

 

ค่าใช้จ่ายที่แท้จริงของปั๊ม