การเลือกใช้ไดอะแฟรมใน AODD Pump
การใช้ไดอะแฟรมปั๊มหรือเอโอดีดีปั๊มที่ขับเคลื่อนด้วยลม (Air operated double diaphragm pump - AODD) ใช้กันอย่างแพร่หลาย เพราะใช้ง่าย ติดตั้งง่าย สดวก ใช้ในการอุตสาหกรรมอาหาร เคมี สี และกาว เป็นต้น
AODD เป็นที่นิยมเพราะไม่ใช้ซีล สามารถใช้กับของใหลที่มีสารแขวนลอยขนาดขนาด 76 มม.ได้ เป็นปั๊มล่อน้ำในตัว (Self - priming) ไม่ต้องการความดันในท่อ (Deadhead) ดูดเดินเครื่องได้โดยไม่มีของใหล (Run dry) ดูดได้ลึก (Suction lift) 9 เมตร ใช้ติดตั้งจมอยู่ในของใหล (Fully submerge) ได้
การเลือก AODD ปั๊มมาใช้งานจะต้องคำนึงถึง MTBF ความาปลอดภัย ประสิทธิภาพในการใช้งาน และความใว้ใจได้ เพราะการขัดข้องระหว่างใช้งานของปั๊มจะทำให้กระบวนการผลิตทำงานไม่ได้ต่อเนื่อง มีความไม่ปลอดภัย มูลค่าความสูญเสียโดยรวมจะมีมาก
การเลือกเบื้องต้น
การเลือกใช้ AODD ปั๊มมาใช้งานที่ถูกต้อง จะต้องได้รับการตรวจสอบจากบริษัทผู้แทนจำหน่ายและบริษัทผู้ผลิตเพื่อความปลอดภัยและประสิทธิภาพในการใช้งานของปั๊ม รวมถึงความเหมาะสมกับการติดตั้งกับระบบ ว่าจะตรงกับมาตรฐานของผู้ผลิต ไม่มีความเสี่ยง มีความปลอดภัย ไม่ผิดเงื่อนไขหรือข้อตกลงในการรับประกันสินค้าและการได้รับบริการอย่างต่อเนื่อง
หัวข้อที่ต้องพิจารณา
การเลือก AODD ปั๊ม จะพิจารณาหัวข้อหลักๆ คือ
- การออกแบบของไดอะแฟรม เลือกปั๊มชนิดที่ใช้ไดอะแฟรม 1 ชิ้นหรือ 2 ชิ้น
- ความทนทานต่อการขีดขวน (Abrasion) ของสารแขวนลอย (Sediment) และความเสียดทาน (Friction) ในของเหลวที่ปั๊ม
- ความคาดหวังอายุของการใช้งาน (Life expectancy) ของไดอะแฟรม
- ความทนทานต่อการกัดกร่อน (Corrosion)
- อุณหภูมิการใช้งาน มีความยืดหยุ่นที่อุณหภูมิต่ำ และไม่เสื่อมสภาพเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น
- ช้กับอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม และยาได้หรือไม่
- ความสามารถของปั๊มในการปั๊มของใหลขนิดนั้นๆ
- ค่าใช้จ่ายรวมทั้งหมด (Cost of ownership) ในการเป็นเจ้าของปั๊มเพื่อใช้งานปั๊มตลอดอายุ (Life cycle cost)
- ความคงทน (Durability) และเชื่อถือได้ (Reliability)
- สถานที่ติดตั้ง ในร่ม หรือภายนอก
- สภาพแวดล้อมที่ติดตั้ง
- ผู้ขายและบริการหลังการขาย
วัสดุที่ทำไดอะแฟนรมที่เหมาะสม
มีวัสดุ 3 ชนิดที่เลือกใช้เป็นไดอะแฟนรม ขึ้นกับการเลือกใช้งาน คือ
1. วัสดุประเภทยาง (Rubber)
วัสดุทำจากยางเทียมเสริมแรงด้วยเส้นใยไนลอนถักเพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นได้ดี ยางที่ใช้เช่น Neoprene, Buna-N, EPDM และ FKM การเลือกใช้ ก็ขึ้นกับสภาพการใช้งาน
2. วัสดุประเภทพลาสติกทนความร้อน (Thermoplastic, TPE)
ใช้วัสดุ Polyurethane, Wil - Flex, Saniflex, Bunalast ทำโดยการฉีดขึ้นรูปโดนโมลด์ จึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้วัสดุเสริมแรง
3. วัสดุประเภทโพลีเตตระฟลูออโรโพลีเอทธิลีน Poly tetra fluoroethylene, PTFE)
เป็นวัสดุที่ทนต่อสารเคมีเป็นส่วนใหญ่ จึงใช้กับสารเคมีได้เกือบทุกชนิด มีคุณสมบัติทนทาน และทนการขีดข่วนได้ปานกลาง แต่ความยืดหยุ่นมีน้อย จึงต้องใช้วัสดุเสริมแรงด้านหลัง (Backup) ที่ยืดหยุ่นได้ เช่น Neoprene, Saniflex และ Buna - N ชนิดทนความร้อน เป็นต้น
PTFE เป็นสารที่ไม่ทำปฏิกริยากับสารเคมีได้ๆ ไม่เป็นพิษต่อคนและสัตว์ นิยมใช้กับปั๊มในอุตสาหกรรมอาหาร เครื่องดื่ม และยา